วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เมนบอร์ด (mainboard) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆ
จำนวนชนิดของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่เราใช้ในการแบ่ง ดังนี้คะ

1. แบ่งตามโครงสร้างของเมนบอร์ด หรือ ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) ซึ่งเป็นคำที่ใช้กำหนดลักษณะทางกายภาพของเมนบอร์ดต่าง ๆ จากหลายยี่ห้อที่ทำออกมาจำหน่ายกันในท้องตลาด ฟอร์มแฟคเตอร์เดียวกัน จะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ในการวางหรือจัดตำแหน่งของช่องเสียบ (Port) ต่าง ๆ ขนาดความกว้าง ยาวของตัวเมนบอร์ด ฯลฯ
หากแบ่งตามฟอร์มแฟกเตอร์แล้ว ชนิดของเมนบอร์ดจะมี 6 ชนิด ได้แก่ AT, Baby AT, ATX, Micro ATX, Flex ATX, LPX, NLX แต่ว่าในปัจจุบันฟอร์มแฟคเตอร์ที่เป็นแบบ ATไม่ผลิตแล้ว เมนบอร์ดที่มีในตลาดมากจะเป็นแบบ ATX คะ

2. แบ่งตามลักษณะการอินเตอร์เฟซ (Interface) ของซีพียู ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ แบบสล็อต กับ แบบซ็อกเก็ต เมนบอร์ดที่ใช้การเชื่อต่อแบบสล็อตในปัจจุบันหาซื้อได้ยากแล้ว เนื่องจากซีพียูแบบตลับที่ใช้เสียบกับสล็อตเลิกผลิตแล้ว คงมีเพียงที่ผลิตออกมารองรับซีพียูเดิม ส่วนเมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ตในปัจจุบันมีออกมาแข่งขันกันจำนวนมาก เช่น Socket A, Socket 478 เป็นต้นคะ

คลิกเพื่อดูภาพ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Google